การพัฒนา ของ ฟลอเรนซ์ (วิดีโอเกม)

เคน หว่อง หัวหน้าฝ่ายออกแบบเกมฟลอเรนซ์ ต้องการสร้างเกมที่ไม่มีความรุนแรง[6]

หลังจากที่ประสบความสำเร็จกับ โมนูเมนต์แวลเลย์ เคน หว่อง ผู้เป็นนักออกแบบเกม รู้สึกว่าเขาได้ทำในสิ่งที่เขาสามารถทำได้ตอนที่ทำงานที่สตูดิโออุสต์โว และต้องการที่จะสร้างสตูดิโอเป็นตนเอง[7] เขาจึงเดินทางกลับไปที่ออสเตรเลียหลังจากที่เห็นฉากการพัฒนาเกมที่เมลเบิร์น[7] และได้ก่อตั้งบริษัทแห่งใหม่ในเมลเบิร์นที่ชื่อว่าเมาต์เทนส์[7][8]

หลังจากที่จ้างพนักงานแล้ว บริษัทเมาต์เทนส์ยังคงไม่มีทิศทางในการสร้างเกมของพวกเขา[7] จนกระทั่งหว่องได้เริ่มจ้างทีมงานและเกิดความคิดเกี่ยวกับเกมโซลิด[7] ทีมงานต่างก็สนทนากันว่าภาพยนตร์และหนังสือเจาะประเด็นเกี่ยวกับความรักและอารมณ์ของมนุษย์ได้อย่างไร ซึ่งนั่นถือเป็นความท้าทายที่ดีในการทำเกม[7] พวกเขาเลือกแนวคิดนี้เพื่อสร้างเกม ฟลอเรนซ์[7] นี่เป็นเกมแรกที่หว่องได้ดำเนินงานต่อจากโมนูเมนต์แวลเลย์[9]

หว่องและทีมงานต้องการสร้างเกมที่หลีกเลี่ยงจากความรุ่นแรง[6] เขากล่าวว่า "ผมต้องการค้นหาว่าเรื่องราวแบบไหนและพลวัตแบบไหนที่เราสามารถนำมาใช้ได้โดยไม่สอดแทรกความรุนแรง"[6] เมาต์เทนส์จึงตัดสินใจสร้างเกมบนโทรศัพท์มือถือที่สามารถเข้าถึงเท่าที่จะทำได้[6] เป้าหมายของทีมงานคือสร้างเกมซึ่งผู้เล่นจดจ่อกับการค้นหาอารมณ์แทนที่จะทำแค่เพียงให้่ถึงเป้าหมาย[9] หากเปรียบเทียบกับเกมก่อนหน้านี้ของหว่องอย่าง โมนูเมนต์แวลเลย์ เขาต้องการสร้างประสบการณ์ที่คล้ายกับหนังสือการ์ตูนหรือภาพยนตร์เงียบซึ่งมุ่งเน้นไปที่การบรรยาย[6] หว่องและทีมงานได้รับแรงบันดาลใจจากภาพยนต์ในการสร้างเกม ฟลอเรนซ์ โดยอ้างอิงจาก ซัมเมอร์ของฉัน 500 วัน ไม่ลืมเธอ, ลบเธอ...ให้ไม่ลืม และ ไททานิก[6][10]

ผู้พัฒนาต้องการสร้างเกมให้เป็นประสบการณ์เส้นตรงเพราะกังวลว่าผู้คนซึ่งมีประสบการณ์มากจะเลือกตัวเลือกถูกต้องและหลีกเลี่ยงที่จะเลือกศีลธรรมของเกม[11] เมาต์เทนส์ได้รับแรงบันดาลใจจากวิธีการที่ผู้คนรับรู้สื่อเพื่ออารมณ์ และต้องการนำความรู้สึกนั้นเข้าไปในเกม[9] ทีมงานตัดสินใจใช้ดนตรีเป็นฉากหลังของบทสนทนาตลอดทั้งเกม โดยเสียงเชลโลเป็นตัวแทนที่สื่อถึงคริช ส่วนเสียงเปียโนนั้นสื่อถึงฟลอเรนซ์[12] เมาต์เทนส์ได้ใช้ธีมดนตรีสำหรับตัวละครหลังจากที่บังเอิญสร้างมันขึ้นในตอนที่สร้างบท "ร้านขายของชำ" ซึ่งเป็นตอนที่คริชกับฟลอเรนซ์ทะเลาะกันครั้งแรก[11] หว่องเลือกใช้ชื่อฟลอเรนซ์เพราะเธอถูกออกแบบให้เป็นชาวออสเตรเลียเชื้อสายจีนซึ่งบิดามารดาของเธอตั้งชื่ออันล้าสมัยนี้เมื่อพวกเขาอพยพเข้ามา[12]

เกมในไมโครซอฟต์ วินโดวส์, แม็คโอเอส และนินเท็นโด สวิตช์ วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020[13]

ใกล้เคียง

ฟลอเรนซ์ ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ฟลอเรนซ์ (วิดีโอเกม) ฟลอเรนซ์ พิว ฟลอเรนซ์ วนิดา เฟเวอร์ ฟลอเรนซ์ อาร์ลิสส์ ฟลอเรนซ์ กริฟฟิท จอยเนอร์ ฟลอเรนซ์ คาซัมบา ฟลอเรนซ์แอนด์เดอะแมชชีน ฟลอเรนซ์ ลอว์เรนซ์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฟลอเรนซ์ (วิดีโอเกม) http://file770.com/2018-gamers-choice-awards-nomin... http://florencegame.com http://jp.ign.com/florence/22094/review/florence http://www.bafta.org/games/awards/bafta-games-awar... http://navgtr.org/archives/3566/ https://www.kotaku.com.au/2017/10/what-we-liked-fr... https://www.pcauthority.com.au/feature/hands-on-pr... https://www.smh.com.au/technology/florence-review-... https://www.gamesindustry.biz/articles/2018-10-23-... https://apptrigger.com/2018/02/12/ken-wong-game-fl...